วันอังคารที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2553

การเชื่อมต่อแบบบัส (BUS TOPOLOGY)

       การเชื่อมต่อแบบบัส เป็นการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ ทุกเครื่องบนสายสัญญาณหลักเส้นเดียว ที่เรียกว่า BUS หรือ TRUNK ที่ปลายทั้งสองด้านปิดด้วยอุปกรณ์ที่เรียกว่า Terminator ไม่มีคอมพิวเตอร์เครื่องใด เครื่องหนึ่ง เป็นศูนย์กลางในการเชื่อมต่อ
       โทโปโลยีแบบบัส บางทีก็เรียกว่า Linear bus เพราะมีการเชื่อมต่อแบบเส้นตรงซึ่งเป็นลักษณะการเชื่อมต่อที่ง่ายที่สุด และเป็นโทโปโลยีที่นิยมมากที่สุดในสมัยแรกๆ คอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อเข้ากับสายสัญญาณร่วมหรือ บัส จะสื่อสารกันโดยใช้ที่อยู่ (Address) ซึ่งคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องจะมีที่อยู่ที่ไม่ซ้ำกัน ในการส่งสัญญาณในสายที่แชร์กันนี้จำเป็นที่ต้องเข้าใจหลักการดังต่อไปนี้
- การส่งข้อมูล
- การสะท้อนกลับของสัญญาณ
- ตัวสิ้นสุดสัญญาณ

อุปกรณ์ที่ใช้ในการเชื่อมต่อแบบบัส
        ในการเชื่อมต่อแบบต่างๆจะต้องใช้สายเคเบิ้ลเป็นตัวกลาง (Medai) นำข้อมูล การใช้สายเคเบิ้ลแบบใดจะขึ้นอยู่กับรุปแบบการเชื่อมต่อ เช่น แบบบัส (BUS) จะใช้สายเคเบิ้ลโคแอกเซียล (Coaxial) แบบสตาร์ (Star) จะใช้สายเคเบิ้ลแบบยูทีพี (UTP)

ลักษณะการส่งข้อมูล
       การส่งข้อมูลบนเครือข่ายที่มีโทโปโลยีแบบบัสนั้นข้อมูลจะถูกส่งไปบนสายสัญญาณในรูปแบบของสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งสัญญาณนี้จะเดินทางไปถึงคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่เชื่อมต่อเข้ากับสื่อกลางบัสแต่เพาะคอมพิวเตอร์เครื่องที่มีอยู่ตรงกับที่อยู่ของผู้รับที่อยู่ในข้อมูลเท่านั้น จึงนำข้อมูลนั้นไปทำการโพรเวสส์ต่อไป ส่วนเครื่องอื่นๆ ก็จะไม่สนใจข้อมูลนั้นเนื่องจากสายสัญญาณเป็นสื่อกลางที่ใช้ร่วมกัน ดังนั้นคอมพิวเตอร์แค่เครื่องเดียวเท่านั้นที่สามารถส่งข้อมูลได้ในเวลาใดเวลาหนึ่ง
ข้อดี - ข้อเสีย ของการเชื่อมต่อแบบบัส
    ข้อดี
      - 1. ประหยัดค่าใช้จ่ายในการติดตั้ง
      - 2. มีโครงสร้างง่ายและระบบก็มีความน่าเชื่อถือเพราะใช้สายส่งข้อมูลเพียงเส้นเดียว
      - 3. ง่ายในการเพิ่มจุดบริการใหม่เข้าสู่ระบบ
     ข้อเสีย
       - 1. การตรวจหาข้อผิดพลาดของระบบทำได้ยาก
       - 2. ในกรณีที่สายส่งข้อมูลเกิดเสียหายจะทำให้ระบบทั้งระบบไม่สามารถทำงานได้
ที่มา : http://thongsek.blogspot.com/2009/06/busstraringmash-5.html

วันอังคารที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

วิชานี้ศึกษาเกี่ยวกับอะไร?
      วิชานี้เป็นศึกษาเกี่ยวกับการสร้าง Blog และการนำเสนอเนื้อหาทางวิชาการในวิชาคอมพิวเตอร์ โดยการใช้เว็บไซต์ blogger เป็นสื่อกลางในการนำเสนอข้อมูล
ระบบเครือข่าย
     "ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรือระบบเน็ตเวิร์ก คือกลุ่มของคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่างๆ ที่ถูกนำมาเชื่อมต่อกันเพื่อให้ผู้ใช้ในเครือข่ายสามารถติดต่อสื่อสาร แลกเปลี่ยนข้อมูล และใช้อุปกรณ์ต่างๆ ในเครือข่ายร่วมกันได้" เครือข่ายนั้นมีหลายขนาด ตั้งแต่ขนาดเล็กที่เชื่อมต่อกันด้วยคอมพิวเตอร์เพียงสองสามเครื่อง เพื่อใช้งานในบ้านหรือในบริษัทเล็กๆ ไปจนถึงเครือข่ายขนาดใหญ่ที่เชื่อมต่อกันทั่วโลก ส่วน Home Network หรือเครือข่ายภายในบ้าน คือระบบ LAN ( Local Area Network)